อ่านก่อนตัดสินใจติดแก๊สที่ใดๆ เอารถไปติดแก๊ส...ติดแก๊ส ติดแก๊สๆๆๆๆๆๆ ประโยคง่ายๆ ที่คนไทยพูดกัน เมื่อจะเอารถไปเพิ่มระบบเชื้อเพลิงจากน้ำมันเดิม ให้สามารถใช้แก๊สได้อีก 1 ชนิดเชื้อเพลิง เอารถไปติดแก๊ส...ติดแก๊ส ติดแก๊สๆๆๆๆๆๆ คำพูดที่ง่าย ทำให้การติดแก๊สดูเหมือนง่ายตามไปด้วย อีกทั้งแต่ก่อนรถแท๊กซีก็ติดแก๊สกันได้ตามอู่เล็กอู่น้อยได้ทั่วไป ทั้งที่จริงๆ แล้ว ถ้าจะติดแก๊สให้ปลอดภัยและใช้งานได้สมบูณ์...ไม่ง่าย ! ติดแก๊ส = คำเดียว แต่จริงๆ มีหลายขั้นตอน โดยมีถึง 3 ขั้นตอน คือ 1. งานติดตั้ง INSTALLATION นี่เกี่ยวข้องกับ...ความปลอดภัย คือ การนำอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบแก๊สติดตั้งเข้ากับรถยนต์และเครื่องยนต์ เช่น ถัง หัวเติม แป๊บ หม้อต้ม มิกเซอร์ หัวฉีด สวิทช์ ระบบไฟ กล่องควบคุม ฯลฯ 2. งานจูนหรือปรับตั้งการจ่ายแก๊ส TUNNING นี่เกี่ยวข้องกับ...ประสิทธิภาพและกำลังของเครื่องยนต์ เพราะ การติดแก๊ส คือ การนำทั้งชนิดและรูปแบบการจ่ายเชื้อเพลิงใหม่เข้าไปในรถ คิดให้ดีจะพบว่า...ทำยากกว่ารถแต่งที่ใช้น้ำมันเดิมๆ ซะอีก ต้องจูนให้ได้ความหนาบางของแก๊สในแต่ละสภาวะของเครื่องยนต์ที่แตกต่างกัน ไม่ใช่แค่ไม่เหม็นแก๊ส วิ่งไม่อืด จะกินทิ้งกินขว้างบ้างก็ช่าง อย่างนั้นมันแท็กซีติดแก๊สในยุคเก่า ช่างส่วนนี้ต้องมีความเข้าใจงานจูนนิ่ง การผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง AIR/FUEL RATIO (A/F) อย่างถ่องแท้ ถ้าจะทำให้เครื่องยนต์ที่ติดแก๊สมีประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ควรจะเป็น มีช่างแก๊สน้อยมากที่เข้าใจเรื่อง เอ/เอฟ เพราะเป็นเรื่องลึกหรือเป็นงานที่เรียกว่า A/F MANAGEMENT ก็ว่าได้ จริงๆ แล้วการจูนแก๊สให้ได้ดี ยากกว่าทำรถแต่ง เพราะเชื้อเพลิงใหม่ จากของเหลว-น้ำมัน มาใช้เป็นไอ จากแรงดันเดิม มาสู่แรงดันที่แตกต่าง จากหัวฉีดโฟลว์เรทหนึ่ง มาอีกโฟลว์เรทหนึ่งที่แตกต่าง สไตล์การไหลก็ต่าง (คาแรคเตอร์โฟลว์) อีกทั้งยังต่างออกเทน ทำรถแต่งยังเป็นแค่น้ำมันเดิม ปั้มติ๊กเดิม แรงดันเดิม อย่างมากก็หัวฉีดใหม่อย่างเดียว
เบนซิน 97.1 แรงม้า แรงบิด 125.9 นิวตัน-เมตร แก๊ส แอลพีจี 96.4 แรงม้า แรงบิด 133 นิวตัน-เมตร แรงม้าถือว่าเท่ากัน ! เพราะตอนใช้แก๊ส ม้าตกไม่ถึง 1 ตัว การวัดม้าที่ล้อย่อมคลาดเคลื่อนบ้าง ไม่ใช่เพราะเรา GAS in CAR เก่งกว่าโรงงานออดี้ แต่เพราะเอ/เอฟเดิมนั้นหนา เราไม่เลือกจูนแก๊สตาม เพราะเราเข้าใจในเอ/เอฟ จึงได้แรงม้าพอกัน ซึ่งถ้าเอ/เอฟตอนเป็นน้ำมันพอดี (แต่รถบนถนนที่ใช้แล้ว จะมีไหมที่เอ/เอฟพอดี) หากเราจูนแก๊สสุดเจ๋งก็คงจะแพ้ และได้ม้าน้อยกว่าน้ำมันสัก 2-4 ตัว แรงบิด ตอนเป็นแก๊สมากกว่าถึง 7.1 นิวตันเมตร !!! ไม่ใช่เพราะเราเก่งกว่าโรงงานออดี้ แต่เพราะเราจูนเอ/เอฟของแก๊ส กับรถในวันนี้สภาพนี้ได้พอดีและลงตัวกว่า ไม่หนา-บางเหมือนโปรแกรมเดิมในการควบคุมการจ่ายน้ำมันเดิม (รถส่วนใหญ่เอ/เอฟที่ดีสุดอยู่แถวๆ 12.5-13.2) จริงๆ แล้วถ้าเอ/เอฟของระบบน้ำมันเดิมพอดีเป๊ะ เมื่อใช้แก๊สแอลพีจีและจูนได้ลงตัวสุดๆ กำลังของเครื่องยนต์ต้องลดลง 2-4 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครเซียนกว่านี้ แม้แต่เราเองก็ต้องเป็นไปตามนั้น นั่นเป็นเพราะค่าความร้อนของแก๊สแอลพีจี้นั้นน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน ไม่ว่าจะจูนให้ลงตัวยังไง กำลังงานย่อมน้อยกว่าบ้าง แต่จะมีรถคันใดบนถนนที่เอ/เอฟน้ำมันกับสภาพรถที่ใช้แล้วพอดีเป๊ะ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของงานจูนนิ่งเชื้อเพลิงใหม่อย่าง...แก๊ส ที่ถ้าเข้าใจแล้วจะทำได้ลงตัวกว่า เพียงแต่ว่าจะมีช่างแก๊สคนใดที่ใด เข้าใจเรื่อง A/F MANAGEMENT การบริหารความหนาของเชื้อเพลิงอย่างถ่องแท้ ? คุณจะเลือกให้รถของคุณที่วิ่งด้วยเอ/เอฟที่ดีในระบบน้ำมัน เลือกติดแก๊สโดยเน้นที่ราคาถูกเป็นสำคัญ แต่เมื่อติดแก๊สแล้วนอกจากเสี่ยงต่อความปลอดภัย ทั้งยังกลายเป็นวิ่งด้วยเอ/เอฟมั่วๆ หนาบ้าง-บางบ้าง ถ้าจับอาการไม่ได้ก็แล้วไป พอจะเข้าไปรับบริการอู่ก็เลิกกิจการไปแล้ว....อย่างนั้นเหรอ ? งานแก๊สคือ 3 งาน = INSTALLATION / TUNNING (A/F MANAGEMENT ) / SERVICE